Tuesday, 26 March 2024

กระสวน หรือแม่พิมพ์ (Pattern)

การออกแบบกระสวน หรือแม่พิมพ์ (Pattern) ที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานของชิ้นงาน ว่าชิ้นงานเป็นชิ้นงานที่นำไปใช้กับงานประเภทไหน ถัดมาต้องทำความเข้าใจ drawing ของชิ้นงาน ว่ารูปร่าง และขนาดเป็นเท่าไหร่ วัสดุที่ใช้ควรใช้อะไร แล้วมาพิจารณาถึงการแบ่ง Parting Line ชิ้นงาน ควรแบ่งตำแหน่งไหน ต้องใช้ไส้แบบ (Core) หรือไม่ และควรเทน้ำโลหะเข้าทางไหน

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการออกแบบแม่พิมพ์ และคุณภาพของแบบหล่อ

  1. การอ่านขนาด และการทำความเข้าใจชิ้นงานจาก Drawing
  2. การแบ่ง Parting Line และการวางไส้แบบ
  3. ชนิด และขนาดของ Core Print
  4. การเผื่อขนาดสำหรับการกลึง (Machining Allowance)
  5. การเผื่อขนาดสำหรับการหดหรือขยายตัวของทรายแบบหล่อ
  6. การเผื่อขนาดสำหรับการหดตัวของน้ำโลหะ
  7. การบิดตัว หรือโก่งตัวของวัสดุที่ใช้ทำ Pattern และ Core Box
  8. การออกแบบระบบทางวิ่ง, ระบบการป้อนเติมของน้ำโลหะ และรูระบายอากาศ
  9. ความเรียบของผิว และรอยต่อของ Pattern และ Core Box
  10. มุมถอดแบบ (Taper)
  11. การเลือกใช้วัสดุหล่อลื่น สเปรย์ หรือทาที่ Pattern หรือ Core Box
รูปที่ 2.1 แสดงขั้นตอนในการหล่อชิ้นงานด้วยแบบหล่อทราย

การเผื่อขนาดของ Pattern

Pattern Allowance

ชนิดของ Pattern

  1. Real Solid
    • เป็น Pattern ที่เหมือนชิ้นงาน สามารถถอด Pattern จากแบบ และไม่ต้องใช้ Core
  2. Solid
    • เป็น Pattern ที่เหมือนชิ้นงาน สามารถถอด Pattern จากแบบ และไม่ต้องใช้ Core
  3. Two Part Solid
    • เป็น Pattern ที่แบ่งเป็น 2 ส่วน บน และล่าง ง่ายต่อการถอด Pattern จากแบบ
  4. Pile Solid
    • เป็น Pattern ที่ใช้สำหรับงานหล่อขนาดใหญ่ และซับซ้อน
  5. Frame Guide Sweeping
    • เป็นการทำแบบหล่อโดยการขุดทรายออกจากช่องด้วยวิธีการเลื่อนแผ่น Sweeping ไปบนแผ่น Guide ใช้กับงานที่หล่อจำนวนน้อยเช่น ท่อ และวาวล์
  6. Sweeping
    • เป็นการทำแบบหล่อโดยการขุดทรายด้วยวิธีการหมุนแผ่น Sweeping ซึ่งติดอยู่บนเพลาหมุนแผ่น แผ่น Sweeping จะมีรูปร่างเหมือนหน้าตัดของชิ้นงาน เหมาะสำหรับงานรูปทรงกระบอกกลม หรือจานกลม
  7. Skeleton
    • เป็น Pattern ซึ่งประกอบด้วยแผ่นฐาน และแผ่น Gauge หนาที่ตั้งอยู่บนแผ่นฐาน โดยมีช่วงห่างที่พอเหมาะ Pattern อันนอกและอันใน (สำหรับทำ Core) ทำด้วยวิธีกระทุ้งทรายให้แน่น Pattern และกวาดทรายที่ล้นออก ใช้สำหรับงานหล่อขนาดใหญ่ และรูปร่างไม่ซับซ้อน

ชนิดของ Core Box

Type of Core box
  1. Curved
    เป็นกล่องที่ใช้สำหรับทำ Core ทำเป็นส่วนโค้งซึ่งมีรูปร่างเหมือน Core ใช้กับงานหล่อขนาดเล็กที่มีรูปร่างง่าย
  2. Box Type
    เป็นกล่องที่ใช้สำหรับทำ Core ขนาดกลางและใหญ่
  3. Box Type with Liner
    เป็น Core Box แบบสี่เหลี่ยมที่มีกระสวนแยกส่วน วางเรียงในกล่อง
  4. Frame Guide Sweeping
    สำหรับใช้ทำ Core ของงานวาล์ว และท่อ
  5. Sweeping
    คล้าย Sweeping Pattern
  6. Skeleton
    คล้าย Skeleton Pattern

ชนิดของ Core Print

  1. แนวตั้ง (Vertical Core Print)
    • Core Print 1 ด้าน
    • Core Print 2 ด้าน
    • Core Print ขยาย การทำ Core Print ด้านบนอาจทำได้ยาก จึงขยายให้ Core Print ด้านล่างใหญ่กว่าเพื่อให้การประกอบ Core มีความเสถียรมากขึ้น
  2. แนวนอน (Horizontal Core Print)
    • Core Print 1 ด้าน
    • Core Print 2 ด้าน
    • Core Print ขยาย การทำ Core Print อีกด้านอาจทำได้ยาก จึงขยายให้ Core Print อีกด้านนึงให้ใหญ่กว่าเพื่อให้การประกอบ Core มีความเสถียรมากขึ้น
  3. Multiple Core Print
    • ใช้ Core Print สำหรับการประกอบ Core มากกว่า 2 อันเพื่อเสริมความแข็งแรงในการรองรับให้มากขึ้น
  4. Insert Core Print
    • Core Print ชนิดถอดได้ จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถถอด Pattern ออกจากทรายในขั้นตอนการทำแบบหล่อได้

You cannot copy content of this page.